วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2551

อย่าลืมถอดปลั๊กก้า

อันนี้ทุกๆคนอาจจะรู้กันอยู่แล้วนะคะ ว่าถ้าพวกเราช่วยกันถอดปลั๊กที่ชาร์จ(มือถือ แล็ปท็อป ฯลฯ) และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ หลังจากใช้งาน เราช่วยลดการสิ้นเปลืองไฟฟ้าได้อีกแยะเลยค่า อย่างเช่นที่ชาร์จมือถือพวกเรา ทุกวันนี้พวกเราได้ใช้แค่ประมาณ 5% ของไฟที่เค้าดูดมา อีก 95% ที่เหลือมักจะเสียเปล่า โดยเฉพาะเวลาที่เราทิ้งที่ชาร์จเสียบไว้เปล่าๆ ถ้าผู้ใช้มือถือทั่วโลกสักแค่ 10% เริ่มถอดปลั๊กทุกครั้งเมื่อแบตเต็มแล้ว เราจะลดการใช้พลังงานไปเท่ากับที่ 60,000 ครัวเรือนในยุโรปใช้ต่อปี (เอ๊ะ...แปลรู้เรื่องไหมนิ)


พวกเราต่างก็มีที่ชาร์จกะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องใช้เรื่อยๆกันอยู่มากมาย จะให้ถอดหมดทุกครั้งก็เหนื่อยไม่หยอก ขอแนะนำให้ใช้พวกที่พ่วงปลั๊ก 3 ตาแล้วที่มีสวิตช์ แล้วก็ใช้วิธีปิดสวิตช์เอา ปอยก็กำลังทำอยู่ก้าาา

วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Money, greed and the destruction of Nature web of life

นั่นคือชื่อของโฆษณาจาก WWF ชิ้นล่าที่ "โดน" เข้าอย่างจัง
(ขอตั้งชื่อเล่นว่า "เงิน ความโลภ และการก่อสร้าง ที่กำลังกัดกร่อนสายใยชีวิตของเรา")



"โดน" ก็ตรงที่ทุกวันนี้เราคิดกันถึงแต่ เงิน, เงิน, แล้วก็เงิน กันซะเกินงาม
ที่สำคัญ พื้นฐานของความคิดเหล่านั้นมาจากความโลภที่เกินพอดีด้วยน่ะสิ

ไม่อยากให้มองกันในแง่ร้าย
แต่จะชวนคิดต่อว่า แล้วเราจะทำอย่างไรกันต่อไปดีนะ

อืมมม...ขวดน้ำพลาสติก

Last year, plastic bottles generated more than 2.5 million tons of carbon dioxide. Drink tap.

Bottled water costs 7,000 times more than the same water that comes from a faucet. Drink tap.

Every year, 38 billion water bottles end up buried in the earth. Drink tap.

อันนี้เป็นของที่ New York ค่า เค้าชักชวนให้ทุกคนมาดื่มน้ำก็อก(เพราะเค้ากินได้นิ)แทนน้ำขวด เพราะว่าน้ำขวดมันมีผลต่อสิ่งแวดล้อมที่มากมายกว่ามาก สำหรับเราๆชาวไทยคงไปกินน้ำก็อกกันคงไม่ดีแน่ แต่ก็เป็นวิธีชักชวนให้พวกเราใช้น้ำขวดพลาสติกกันให้น้อยลง หรือหันกันมาพกขวดน้ำ/กระติกส่วนตัวกันให้มากขึ้นเน่อ (เราก็กำลังจะหามาครอบครองเหมือนกันนิ)

วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เรื่องของสะดือ


วันนี้ที่บ้านหรือออฟฟิศคุณมีที่ปิดสะดือ อ่างล้านจานหรือยังคะ
บางทีถึงจะเป็นออฟฟิศเล็กๆซึ่งเราไม่ได้ใช้จานชามมากมายนัก แต่ก็มีบางทีที่เรากินกันกระหน่ำ ทำให้ต้องล้างจาน แก้ว ช้อน มากมายในออฟฟิศ ลองหาซื้อที่ิปิดสะดืออ่างล้างจานมาใช้นะคะ จะทำให้เราไม่ต้องล้างจานโดยเปิดน้ำไหลไปเรื่อยๆค่ะ
หาซื้อไม่ยากค่ะ จากโฮมโปรหรือร้านขายวัสดุุแถวบ้านก็ได้ ก่อนอื่นต้องดูไซส์ของสะดืออ่างล้างจานที่มีก่อนค่ะ จะได้ซื้อมาพอดีกัน

ข่าวด่วน



วันนี้เราสามารถใช้หลอดประหยัดไฟ CFL11 watt แต่ให้ความสว่างเท่า 40 watt มีให้เลือกทั้งสีcool white and warm white ที่ทำขั้วมาให้เสียบกับเบ้าของ ไฟ downlight halogen แทนหลอดhalogen 30 - 50 watt ได้แล้ว บ้านหรือที่ทำงานใครถ้าหากใช้หลอดฮาโลเจนซึ่ง ทั้งร้อน ขาดง่าย กินไฟอย่างแรง ลองดูนะคะ เราอาจจะเริ่มจากการค่อยๆเปลี่ยนหลอดที่ขาดแล้ว หรือส่งหลอดฮาโลเจนกลับคืนผู้ผลิตไปเลยคะ


หลอดชนิดนี้ของ sylvania หาซื้อได้ที่ร้าน greatlamp ซอยทองหล่อ21 โทร 02 712 8620 ราคาประมาณ 300 บาท แต่ว่าประหยัดค่าไฟและอายุยาวนานคุ้มค่าแน่นอนค่ะ


ถ้าจะให้ดีถอดอันที่อยู่ที่บ้านไปให้ที่ร้านดูให้แน่ใจค่ะว่าใช้กับขั้วไฟที่บ้านคุณได้จริงหรือไม่ค่ะ



ตารางเปรียบเทียบความกินไฟ อายุการใช้งาน และค่าไฟ
หลอดไฟCFL(คอมแพคฟลูออเรสเซนต์) , หลอดไส้ และ หลอด halogen

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ใครสักคนบอกว่า

ธรรมชาติอยู่ได้โดยไม่ต้องมีมนุษย์
แต่มนุษย์ อยู่ไม่ได้ ...ถ้าไม่มีธรรมชาติ

“2,663 bags”

2,663 คือจำนวนถุงที่ประเทศอเมริกาใช้ในเวลาแค่ 1 วินาที
บริษัทออกแบบ MSLK ได้ทำการขอถุงที่ไม่ใช้แล้วจำนวน 2,663 ใบมาจัดเป็นงาน installation art รูปแบบต่างๆ
คงเป็นภาพ และ ตัวเลข ที่ ไม่ต้องการคำอธิบายอะไรอีกแล้ว ว่าเราจำเป็นแค่ไหนที่จะต้องลดการใช้ถุงพลาสติกใหม่ อย่างเร็วด่วน

วันนี้และเดี๋ยวนี้

http://mslk.com/reactions/?p=709

วันเสาร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2551

สาวออฟฟิศหน้ามันส์



กระดาษซับมันชนิดกระดาษ
สาวๆออฟฟิศคนไหนหน้ามันแพลบจนต้องพึ่งกระดาษซับมันกันบ้างคะ
กระดาษซับความมันบนหน้านั้น มีให้เราเลือกหลากหลายยี่ห้อ เดี๋ยวนี้ที่ฮิตกันก็คือชนิดฟิลม์ใช่มั้ยค่ะ
ถึงจะเป็นของใช้จุกจิกเล็กๆน้อยๆแบบนี้ แต่ว่าเราใช้ทุกวัน วันละ 2-3 แผ่น ก็เกิดเป็นขยะพลาสติกย่อยสลายยากเหมือนกันน่ะค่ะ
เรากลับมาใช้กระดาษซับมันชนิดกระดาษกันเถอะค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2551

green office

เชื่อมั้ยว่าเริ่มจากคนๆเดียว ที่ทำงานของคุณก็เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้
ค่อยเริ่มคะ
แล้วคนรอบตัวก็จะหลวมตัวเออ ออ ห่อ หมก ไปด้วย ฮ่าๆ

- เวลาอากาศไม่ร้อนมาก ก็ปิดแอร์ไปซักตัว หรือ หรี่แอร์ให้พอดีๆ และปิดแอร์ตอนพักไปทานข้าว
- ใช้ผ้าเช็ดมือที่อ่างล้างมือแทนกระดาษทิชชู
- ไม่ซื้ออาหารใส่กล่องโฟมมากินในออฟฟิศ
- เวลาเดินออกไปซื้อขนมที่มินิมาร์ท ก็เอาถุงไปด้วยคะ ว่างๆเบื่อก็พับถุงแจกเพื่อนที่ทำงาน ให้เค้าเห็นว่าไอ่นี่เอาจริงเว้ย เอากะมันหน่อย ^^
- เวลาซื้อผลไม้รถเข็น ก็เอาจานออกไปใส่เลย แทนที่จะใส่ถุงพลาสติก
- เปิดไฟแต่พอดีนะคะ ปิดไฟตอนไม่อยู่ออฟฟิศด้วยค่ะ
- พริ้นท์งานแต่ที่จำเป็น ทำบ่อยๆ เพื่อนร่วมงานจะรู้และไม่พริ้นท์มาให้เราอีก แต่ส่งเมลล์มาแทน

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2551

building a straw bale house

designboom book report: building a straw bale house
---




author: nathaniel corum, foreword by dr. jane goodall
publisher: princeton architectural press
year: 2005
size: 180 pages, 20.8 x 15.5 cm
ISBN: 1568985142

___________________________________________________________________________________

designboom rating:
___________________________________________________________________________________

we often 'oooh' and 'aaah' over the most elaborate structures which were designed by the most famous
of architects and were expensive to build, but sometimes the simplest pieces of architecture have the
most long lasting impression.

content
founded in 1994, the red feather development group is a volunteer-based organization that has been
working to help plague the housing problems that the american indians have been facing.
with the help of a strong community of members, the group has been able to provide the community
with a house solution through the construction of straw bale homes. the choice of the straw bales
may seem simple, but this inexpensive material provides good insulation, is incredibly lightweight
and easy to handle, requires minimum tools for building and above all, is ecologically sustainable.
since the first houses were erected, the popularity of straw bale architecture has increased,
with the red feather development group's methodology and construction techniques resulting in
an architectural phenomenon.



'building a straw bale house' is truly a handbook, providing the reader with detailed step-by-step
instructions, material and tool lists, and everything else you need to know to get started.
it opens with the site work and foundations of building a straw bale structure and follows through
to the finishing touches, like interior wall texture and color choices. but, beyond all of the 'how to'
technical work and safety guides that are outlined, the book itself is an inspirational story which
has had a huge impact ecologically, socially and culturally, empowering the reservation communities.

the images of prototypes, accompanied by over 35 case studies covering a range of red feather
development group projects could very well change the way you see the future of architecture.



is it for me?

sure, this handbook may sound technical, but with the easy to follow instructions, along with
images to help guide you, by the end, you too will have the knowledge on how to build your
very own straw bale house.



more information:
red feather development group: http://www.redfeather.org
princeton architectural press: http://www.papress.com

วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2551

running the number

ใครอยากเห็นขยะขวดพลาสติก 2 ล้านขวด หรือมือถือถูกทิ้ง 426,000 เครื่องลองดูนะครับ

เป็นงานศิลปะ ลองไปดู(เว็บ)กันได้ที่นี่
Running the Number

เผื่อเอามาใช้เป็นเครื่องมือ หรือไอเดียทำเครื่องมือรณรงค์ต่างๆได้เด้อครับเด้อ

วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ธรรมชาติไม่รู้จักสิ่งปฏิกูล

"ผึ้งบินจากดอกไม้ดอกหนึ่งไปอีกดอกหนึ่ง เอาไปเพียงแค่น้ำหวานจากที่โน่นนิดที่นี่หน่อยและไม่ทำอันตรายแก่ดอกไม้ ช่างนุ่มนวลและอดกลั้นเหลือเกิน ไม่เคยเลยที่ดอกไม้จะบ่นว่า ผึ้งมาขโมยน้ำหวานไปจากเรา เหมือนกับว่า ผึ้งรู้ว่ามันไม่อาจอยู่ได้โดยปราศจากดอกไม้และดอกไม้รู้ว่ามันไม่อาจอยู่ได้โดยปราศจากผึ้ง แต่มนุษย์เราทำอะไร เมื่อเราเริ่มตักตวงผลประโยชน์จากผืนดิน เราไม่รู้ขีดจำกัด เราเอาแต่ได้ไปเรื่อยๆ จนผืนดินถูกทำลาย

ผึ้งทำอะไรกับน้ำหวาน มันเปลี่ยนน้ำหวานเป็นน้ำผึ้งอันแสนหวาน อร่อย และรักษาโรคได้ ขณะเดียวกันก็ผสมเกสรดอกไม้ มีมนุษย์สักกี่คนที่ทำได้เช่นนี้ เมื่อมนุษย์เราเอาของขวัญจากธรรมชาติ เราก่อสิ่งปฏิกูลและความเสียหาย เพียงแต่เราเรียนรู้จากธรรมชาติ เราก็จะเอาจากผืนดินได้โดยไม่ล่วงละเมิด และสิ่งที่เราเอาไป เราก็จะเปลี่ยนเป็นสิ่งที่เหมือนกับน้ำผึ้ง และนำมันกลับไปเหมือนใบไม้กลับสู่ผืนดิน ธรรมชาติไม่รู้จักสิ่งปฏิกูล"

แม่ของสาทิศ กุมารกล่าว

จากหนังสือ มีเธอจึงมีฉัน คำประกาศแห่งการพึ่งพา

วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2551

the gardening's diary

12 มิถุนายน

ตื่นเช้ามาด้วยความงัวเงีย

กินเช้าแกงร้านประจำหลังบ้าน ด้วยเมนูพยายามมัง ยำไข่ดาวกับ แกงจึดเต้าหู้ไข่ที่มีหมูสองชิ้น
อยากกินไวตามิล แต่ร้านนี้มีแต่ขวดแก้วกับนมกล่อง ตอนแรกจะเอานมใส่ถุงก็จำได้ว่ามีขวดในกระเป๋า เลยจัดแจงให้แม่ค้าใส่ขวดนี้ให้เรา

ดีใจไม่สร้างถุงหรือแม้แต่กล่องนม ฮ่าๆ
แต่อย่างไรดันเผลอรับหลอดมากซะได้ อะจึ่ย

เช้านี้ขึ้นรถเมล์ ต่อรถไฟฟ้าไปประชุมแถวราชวิถี อยู่ในห้องประชุม นั่งๆ นอนๆ ห้องแอร์ ใช้กระดาษไปนิดหน่อย เช่น ซองชาลิฟตัน ซองน้ำตาล ลูกอมซูกัส และ กระดาษรองหนม

แต่ก็พอให้อภัยได้

กินข้าวมังเขี่ยยามเที่ยงที่นี้ก็อิ่มหมีมากๆ ไม่สร้างขยะเลยแม้แต่น้อย ตังค์ก็อยู่ครบ ฮ่าๆ

เย็นเดินไปสยาม กินข้าว ดูหนังรอบเย็นแก้เครียด

กลับบ้านด้วยรถตู้ เรือ และรถเมล์ละเอิงเอย

13 มิถุนายน

ตื่นมาเวลาปกติ แต่อยู่ๆ ผีแม่บ้านก็เข้าสิง
หลังจากนั่งพับถุงพลาสติกเล่นตอนจิตตกเมื่อตอนที่แล้ว จิตใต้สำนึกคงสำนึกได้ว่า สถานที่เก็บถุง หรือใต้ที่ล้างจานบ้านตูนั่นมันชั่งรกชักจนน่ากลัวขึ้นทุกวัน ดังรูปนี้
ผีแม่บ้านจึงนั่งพับถุงชิงแชมป์จักรวาลต่อ เพื่อทำฟามสะอาด และ จัดทำขนมโอท๊อปรูปสามเหลี่ยมตราถุงพลาสติกใช้แล้วใช้อีก ส่งต่อให้ "พี่พุ่ม" แม่ครัวประจำร้านแม่ใช้ต่อเวลาลูกค้ามาซื้อของ


หน้าตาเหมือนขนมโอท๊อปไหม?

หลังจากนั่งพับมาพักใหญ่ก็พบว่ายิ่งลึก ใต้ที่ล้างจานยิ่งดูน่าแหยะมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นอึแมงสาป คราบเหนียวเหน๊อะจากน้ำยาล้างจานหก เศษปูนที่คนงานก่อสร้างเก็บไม่เนี๊ยบ ก่อร่างสร้างรอยดำเขรอะเต็มพื้น กว่าจะถูเสร็จให้กลายเป็นปกติก็เหงื่อตก

ถุงพลาสติกที่อยู่ข้างล่างนั้นก็เหน๊อะๆ ดำๆไปด้วยจึงจัดแจงล้างและตาก เตรียมตัวเป็นถุงขยะในขั้นต่อไป

พับและเก็บให้เรี่ยมเร้เรไร

พับเก็บเสร็จข่อยก็หมดแฮง แต่รู้สึกภูมใจเหลือคณา เพราะสามารถจัดบ้านพร้อมรักษาถุงได้อีกหลายๆ ใบ แต่อย่างไรก็ตามข้าพเจ้ายังเหลือถุงจำนวนหนึ่งที่พับบ่ไหวแล้วเก็บไว้จัดการต่อ - -

พอทำเสร็จอวดแม่ แม่ทำหน้า เหย้ย!! มันทำขนาดนั้นเชียวเหรอ แล้วบอกว่าไม่ต้องเสียเวลาขนาดนั้นก็ได้ลูก แต่ถ้าไม่ทำงี้ชาวประชาจะรู้ได้ไงว่าต้องดูแลถุงพลาสติกในบ้าน และความสะอาดในที่หมกหมม ไม่ให้แมงมาทำรังในบ้านได้ และต่อไปนี้ห้ามใครทำที่เก็บถุงรกเด็ดขาด ไม่งั้นตายยยย

พอทำเสร็จ ก็เล่นเนตลัลลา กินข้าวต้ม หง่ำๆ

แต่แล้วท่านพี่ก็ชวนกึ่งบังคับไปงาน commart ไปซื้อของ

เอ้า ไปก็ไป!!!

ท่านพี่ได้โน๊ตบุ๊คใหม่ ไฉไลมากๆ ฮ่าๆ ดีใจเหมือนมีคอมใหม่เอง

ส่วนเราที่เล็งอยากได้กล้องมานานก็เลยไปเล็งกล้องในงานอยู่นานมาก

สุดท้ายไปลงเอยที่ Panasonic แถมมือถืออาโนแนะมาชิโมโร่และอื่นๆ อีกมากมาย

เห็นราคามันก็โอ ของแถมตรึม ก็เลยซื้อไป กลับมาเช็คราคาในเนตก็พบว่า มันก็ถูกอ่ะนะ แต่มันสามารถถูกได้อีก ถ้าไม่มีของแถมอีกมากมาย ซึ่งแสนจะล่อตาล่อใจให้เราซื้อ

การซื้อของแบบนี้ พาลทำให้ซื้อของมาซ้ำซาก เช่น มือถือมาชิ ที่เดิมเราก็มีมือถืออยู่แล้ว สิ่งเหล่านี้สร้างขยะทางเทคโนโลยีในอนาคต และการบริโภคเกินความจำเป็น

รู้สึกแย่นิดหน่อย แต่จะพยายามใช้ของที่ได้มาอย่างคุ้มค่าที่สุด และซื้อของแบบมีสติกว่านี้น่ะ

ปล. พบว่าหีบห่อของเครื่องใช้เทคโนโลยีเนี่ย มันเต็มไปด้วยถุงพลาสติก กล่องกระดาษ กล่องพลาสติก หลายห่อในหลายห่อจริงๆ ไม่รู้ว่าเหตุผลเพื่อความแข็งแรงหรือว่าเหมาะสมก็ไม่รู้ได้ ดูแล้ว หีบห่อพวกนี้ก็ดูกลับมาใช้ลำบากหน่อย แต่ต้องลองพยายามดู

พอซื้อกล้อง ซื้อคอมเสร็จ เรากับพี่ก็หมดแรงเลยเรียกแท็กซี่กลับบ้าน เปลืองน้ำมันไปหลายแหมะ

เป็นวันอันยาวนาน ที่ทั้งเขียว ไม่เขียว แถมยังไม่ปั่นงานเลยแม้แต่น้อย โอ้วแย่แล้ว!

ปล.สอง วันนี้สร้างขยะอีกสองชิ้น 1 ถุงพลาสติกห่อแซนวิชของเซเว่น 2 ถุงถั่ว

14 มิถุนายน

ตื่นมานั่งถอดเทปทำงาน

เที่ยงกินข้าว

บ่ายไปรวมตัวกับแก็งทำอาร์ตเวริคหนังสือ

เปิดคอมกันกระหน่ำซัมเมอร์เซวหกตัว เราออกแนวเล่นเนตไร้สาระซะเยอะ

กินหนมหวานไปสองถุง แถมกินไม่หมดอีกตะหาก

เดินไปกินกระท้อน แม่ค้าก็ใส่ถุงร้อนเตรียมให้แล้ว อดเขียวเลย

กินถั่วต้มใส้กล่องข้าวประจำกาย และพบว่าถั่วต้มเป็นของกินเล่นชั้นดีได้ เพราะนอกจากไม่สร้างขยะ ยังกลายเป็นปุ๋ยได้ง่ายได้

ดึกขึ้นรถเมล์กลับบ้าน

สรุปใช้ถุงร้อนไป 3 ถุงหนมบ้านนผุย 1 ประหยัดถุงไป 1

15 มิถุนา


ตื่นมาบิดขี้เกียจหลายรอบ และอยากเปิดคอมอยู่หลายรอบ แต่เด๋วก็ลงไปช่วยงานแม่แล้ว เลยตัดสินใจไม่เปิด ประหยัดไฟไปอีกหน่อย

บ่ายนั่งเล่นเนตเห่อคอมใหม่อย่างมาก ทำงาน อู้นอน

เย็นไปว่ายน้ำ

ซื้อของ เอาถุงพลาสติกไปช็อปของกิน ก่ะหาซื้อกระติกน้ำประจำกาย แต่เดอะมอลไม่มีอันที่เวริกๆ พี่เลยยกกระติกให้เฮาหนึ่งอัน

ขอบคุณท่านพี่มากมาย แม้เจ๊จะยังรับถุงพลาสติกอยู่ก็ตาม แต่น่ารักเสมอ
แต่ใช้ๆ ไปก็พบว่าน้ำมันชอบไหลซึมอยู่เสมอ สงสัยไงก็ต้องซื้อใหม่ ฮือ


ไปซื้องาดำเพื่อเอาไว้คลุกข้าวกินยามอยากมังสวิรัติ เดิมมาเป็นแพคถุง เอามาใส่กล่องมะขามเคี้ยวหนึบขนมที่รัก รียูสๆ
ตกดึกกินสลัด เดอะพิซซ่า ของน่าจะอิมพอร์ต แต่อยากกินอ่ะ เลยกิน

แล้วก็กลับบ้าน

ปล. ตอนแรกหาซื้อยาสระผมแบบรีฟิล เผื่อจะได้ไม่ต้องซื้อขวดใหม่แล้วทิ้งตลอดเวลา แถมประหยัดตังค์ด้วย แต่หาไม่ได้อ่ะ สงสัยไม่มีผลิต

16 มิถุนายน

วันนี้ไม่ได้ไปไหน
นั่งๆ นอนๆ ทำงานบ้าน ปั่นงานอยู่หน้าคอม
ประหยัดอะไรบ้าง?
ไฟ เปิดไฟดวงเดียว ปกติสอง
พัดลม หันมาใช้พัดลมยืนหนึ่งตัว
น้ำ ก็ซักผ้ามือแล้วค่อยเครื่องเหมียนเดิม
กิน กินเก่งเหมือนเดิม ฮ่าๆๆ
คอม ใช้อึดเหมือนเดิม
จบข่าว

17 มิถุนายน
วันที่เจ็ดแล้วจ๊ะ เผลอแปร็บเดียว
วันนี้เช้าก็ชิวๆ บ่ายไปหาของกินกับท่านพี่แต่เราดันลืมเอากล่องข้าวไปเสียนี้เลยใช้ถุงร้อนไป 3 ใบ
กินอาหารมังจ๊ะ ฮิฮิ
บ่ายนั่งอ่านการ์ตูนที่เช่า ไม่ได้ซื้อ
ฝนตกหนักมากๆ กว่าจะได้ออกจากบ้านเพื่อไปนัดก็ล่วงหน้าแค่ชั่วโมงเดียว
กลับบ้านด้วยรถน้องปอย สบายมั่กๆ

สรุป
- เราว่าคนที่ช่วยลดโลกร้อน เป็นซับเซดหนึ่งของคนงก และเรางกอยู่แล้ว พอจดว่าช่วยลดโลกร้อนอะไรบ้างก็เยอะเหมือนกันนะ ฮ่าๆ
- การจะชวนคนที่ไม่สนใจเรื่องแบบนี้ อย่างท่านพี่ ท่านแม่ หรือพนักงานที่บ้าน เป็นเรื่องที่ยากส์มากๆ จะทำอย่างไรให้เปลี่ยนได้ ต้องลองดูในระยะยาว
- การทำอะไรอย่างนี้ทำให้บ้านสะอาดขึ้น แต่มืดขึ้น (เพราะปิดไฟ)
- ทำอะไรที่ต้องมีความสามารถ มีเทคนิค อย่างเปลี่ยนหลอดไฟเบอร์ห้า เป็นเรื่องที่ยากส์ไปนิดสำหรับเรา ทำไม่เป็นเว้ย
- การลองแบบนี้ทำให้คิดมากขึ้นเวลาจะซื้ออะไรกิน
- พบว่าของกินเล่นที่แจ๋วสุดๆ คือ ถั่วต้ม ไอเลิฟๆ
- เวลาทวนศีลข้อที่ 1 พบว่าการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมกับข้อ 1 เกี่ยวโยงกันมั่กๆ
- ที่ยังทำไม่ค่อยได้คือ รู้สึกเปิดคอมนานไป และไม่ค่อยจำเป็น แต่ติดอ่ะ
- จะพยายามทำงี้ต่อไป ถ้าเจออะไรแจ๋วๆ จะมาเล่าให้ฟังอีกนะจ๊ะ

'makta'


'makta', in use on the streets of india ,a light that has been made from an old container

วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2551

the gardener's diary

10 มิถุนายน
วันว่างๆ ตื่นมาซักผ้าโดยซักผ้าซักมือก่อน แล้วเอาแฟ็บซักมือไปซักเครื่อง ประหยัดน้ำและแฟ็บ ไปพร้อมๆ กัน แต่บ้านไม่มีต้นไม้ เลยเอาน้ำแฟ็บเครื่องไปใช้ต่อไม่ได้
สายๆ นั่งเล่น พับถุงพลาสติก เตรียมไว้เผื่อใช้ และ เปิดคอมใช้งาน โทรศัพท์ประสานงาน
เที่ยงกว่าปิดเครื่อง ไปกินข้าว
บ่ายๆ ทำเป็นชิวไปว่ายน้ำกับอาเจ๊ที่เดอะมอลล์บางแค ซื้อของเอาถุงพลาสติกไปช้อปปิ้ง แต่พี่สาวยังยืนยันเอาพลาสติกกลับบ้าน เพราะเจ๊ว่ามันเป็นถุงขยะได้ แม้เราจะทัดทานว่าถุงเต็มบ้าน เจ๊ก็หาสนใจไม่
กลับบ้านนั่งเล่นเนต นอน
11 มิถุนายน
ตื่นเช้าเตรียมตนไปออฟฟิศด้วยของสามอย่าง ขวดน้ำคริสตัสพลาสติก ถุงพับเป็นสามเหลี่ยมต่างขนาด 5 อัน และกล่องข้าว นอกนั้นก็มีร่มกับเสื้อกันหนาวไว้ดูแลร่างกายตัวเอง
โหนรถเมล์ 2 ต่อ ไปออฟฟิศ
ซื้อผลไม้มาขบเคี้ยวกินเล่น ใส่กล่องข้าวเฮาโลด เย้ๆ

คุยงานอย่างถึกเสร็จ ไปกินข้าว ลืมเอาขวดน้ำไป จึงขโมยขวดน้ำชาวบ้านกิน
แล้วไปนั่งกินน้ำปั่นต่อตึกอีตันไทย แต่ทว่าแก้วเป็นพลาสติก แถมยังมีฝาอีกตะหาก เฮ้อ ทำไมร้านน้ำปั่นในห้างบ้านเราไงเป็นจังซี้ - -" สงสัยต้องหาขวดน้ำประจำกายเสียแล้ว

ตกเย็นขึ้นรถเมล์ไปหยาม กินนิวไลท์อย่างอิ่มอืด สร้างขยะทางอาหาร

กลับบ้านมาจิตตกเล็กน้อย ชาวการ์เด้นเนอจึงฝึก stopping ด้วยการนั่งถึกพับถุงพลาสติกชิงแชมป์โลก
พบว่าถุงพลาสติกบ้านเราเป็นทรัพยสมบัติทับถม ราวชั้นหินฟอสซิส ยิ่งลึกยิ่งดำ จึงพับได้ประมาณ 15 อัน มือดำ ยุงกัดเต็มขาก็เลิก และนี่คือผลงาน

ตกดึกอัพบล็อกอย่างขมีขมัน

ทั้งนี้ขอเชิญชวนเพื่อนๆ มาเขียนไดอารี่จิตเขียวกันนะจ๊ะ หาพวกสุดฤทธิ์ ฮ่าๆ:)

วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2551

when gardeners eating out

ตะเกียบไม่แกะแต่ขอช้อนส้อมแทนค่า



มื้อนี้เราประหยัดตะเกียบไปได้ 5 คู่ ค่ะ
แล้วก็เหลือบมองไปแล้วเห็นว่า คราวต่อไปเราอาจประหยัด ที่รองแก้วกระดาษได้อีก เพราะไม่รองก็ได้ ไงๆ เค้าก็ต้องเช็ดโต๊ะอยู่แล้วอ่ะเนอะ

นำกลับมาใช้ใหม่ แบบน่ารักๆ











จาก ฟอเวิดเมลล์ จ้า น่ารักไหม

วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2551

บอกเล่าให้เตือนใจ



ไปสำรวจป่าต้นน้ำมา
สิ่งที่เห็นในภาพ อาจเป็นเพียงไร่ข้าวโพดธรรมดาๆ
แต่ที่ไม่ธรรมดาคือ ผืนดินนี้เดิมเคยเป็นป่าที่รกชัน
เคยเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์หลายชนิด หลายพันธุ์
เคยเป็นแหล่งเก็บกักน้ำฝน จากหยดเล็กหยดน้อย จนไหลรวมกันเป็นแม่น้ำ
เคยเป็นทุกอย่างที่เรียกว่าระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์
เคยเป็นเมื่อ 5ปีที่ผ่านมานี่เอง!!

ตัวเลขนี่เป็นอะไรที่วิกฤตมากสำหรับสถานการณ์ป่าในเมืองไทย
ถ้าไม่ได้เห็นกับตา คงจะไม่เข้าใจ
นี่เป็นเพียงถนนเส้นนึงในหลายๆเส้นของเชียงดาว และมันมีสภาพเป็นอย่างที่เห็นนี่แหละ
ป่าต้นน้ำผืนใหญ่และผืนเดียวของลุ่มแม่น้ำปิงกำลังจะถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว

ชาวบ้านทำเกษตรเชิงเด่ียว ขยายพื้นที่เพาะปลูก จนต้องลุกล้ำป่า เพื่อมุ่งเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวตามราคาผลผลิตที่ขึ้นๆลงๆ
ตามกระแสเศรษฐกิจที่ปรวนแปร และนายทุนที่มุ่งแต่จะขายเมล็ดพันธุ์ กอบโกย
โดนที่หารู้ไม่ว่า ก็กำลังมัดคอตัวเองอย่างช้าๆเหมือนกัน

อีกไม่กี่ปีข้างหน้า คงจะพอเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป..ใช่มั้ย?

ฉันเป็นถุงพลาสติก ใช้ฉันอีกสิ




เป็นเหมือนกันหรือเปล่าที่ถุงพลาสติก ส่งเสียงก็อบแก็บเต็มบ้าน
แทนที่เราจะหิ้วถุงผ้า หรือ ใช้ถุงผ้าหลายใบเวลาไปช็อป

ทำไมเราไม่ใช่ถุงพลาสติกซะล่ะ!?!

พับเก็บก็ง่าย ไม่ต้องกลัวเลอะ ไม่ต้องซักใหม่ ใช้ขาดแล้วก็ทิ้งอย่างภาคภูมิใจว่า
"ฉันได้ใช้ของอย่างคุ้มค่าที่สุดแล้ว"

แค่เอาของเก่ากองเต็มบ้านกลับมาใช้ ก็ช่วยได้มาก
และไม่ต้องขวนขวายถือกระเป๋าผ้าที่หนาหนักกว่าให้เมื่อย



ปล.เห็นพฤติกรรมนี้จากการไปช็อปที่สันติอโศก และเห็นคนจำนวนมากเอาถุงพลาสติกไปช็อปราวเป็นเรื่องปกติ อีกวันหนึ่งเลยเอาบ้าง ลองแล้วรู้สึกดีมากที่ได้ลดพลาสติกไปได้หลายใบ :)
ตอนนี้มีถุงพลาสติกติดกระเป๋าตัวเอง 3 ใบ กันเหนียวสุดริด

ขอบคุณภาพจาก http://www.captainpao.com/

วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2551

แสงสว่างเพื่ออนาคต


ในขณะที่ ออสเตรเลีย อิตาลี ฟิลิปปินส์ วางแผนที่จะแบนด์การใช้หลอดไฟแบบไส้(incadescent light bulb)หรือหลอดหัวปิงปอง ภายในปี 2010
เมื่อเทียบกับหลอด CFL (หลอดประหยัดไฟ) หรือที่เรียกว่าหลอดตะเกียบ หลอดหางหมู ตามภาษาชาวบ้านที่เราเรียกกันแล้วหลอดตะเกียบประหยัดไฟกว่าหลอดปิงปองถึง 60%


ในขณะที่ในยุโรปและอเมริกา เริ่มทำการรณรงค์ให้คนส่งหลอดไฟ CFL ที่ขาดแล้วกลับให้ผู้ผลิต ทางไปรษณีย์ เพื่อที่ผู้ผลิตจะได้เอาทำรีไซเคิล เนื่องจากหากทิ้งในขยะและมันแตกออก Mercury ซึ่งเป็นสารพิษที่สามารถออกมาได้


ในขณะที่บริษัทผลิตหลอดไฟบางแห่ง กำลังพยายามพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ เพื่อการผลิตหลอดไฟที่ลดการใช้ Mercury ลงเรื่อยๆ


ในขณะนี้เราก็ควรเริ่มตรวจดูหลอดไฟในบ้านเราค่ะว่ายังมีไฟดวงไหนเป็นหลอดไส้อยู่บ้างหรือเปล่า :)


อ่านต่อได้ที่นี่ค่ะ


http://www.enn.com/energy/article/37111