วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ฉันรักตัวเอง

ฉันรักธรรมชาติเพราะธรรมชาติสอนให้ฉันรักตัวเอง
และธรรมชาติก็สอนให้ฉันรักคนอื่นด้วย
ธรรมชาติงดงาม คนงดงาม
จิตใจคนงดงาม โลกนี้งดงาม

วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ลดต้นทุนธรรมชาติ

ก็เหมือนกับสภาพเศรษฐกิจทุกวันนี้ ทรัพยากรธรรมชาติของเราก็ฝืดเคืองไม่แพ้กัน แต่เราอาจรับรู้ได้ยากมาก เพราะเมื่อเราต้องการสมุดซักเล่ม เราก็ไปห้าง เราไม่ได้เข้าป่าไปตัดไม้มาทำกระดาษ เราเผลอคิดว่าต้นทุนค่าสมุดคือ เงิน 20 บาท น้ำ ไฟ และข้าวของต่างๆก็เช่นกัน

เราเผลอลืมนึกถึง ต้นทุนแฝงที่สำคัญ นั่นคือ ต้นทุนธรรมชาติ

ลองช่วยกันนึกดูค่ะ เราแต่ละคนอาจจะใช้ต้นทุนธรรมชาติแตกต่างกันไป ตามวิถีชีวิต และอาชีพของเรา ดังนั้นเราก็อาจจะมีวิธีของการฝึกลดต้นทุนธรรมชาติที่แตกต่างกันไปได้มากมาย

ยกตัวอย่างเช่น

- หากเราเป็น กราฟิกดีไซเนอร์ ลองดูว่าเราเลือกใช้กระดาษที่หนาเกินจำเป็นมั้ยสำหรับงานแต่ละชิ้น เราเลือกกระดาษชนิดพิเศษมีผงเมทัลลิค พิมพ์ทอง สวยงาม แต่โหดร้ายกับธรรมชาติมากไปหรือเปล่า ช่วยกันรักษาความสมดุลระหว่าง ความสวย และ ความคุ้ม เสมอๆ

-หากเราเป็นพ่อครัว เราอาจสร้างสรรค์เมนูที่เลือกใช้วัตถุดิบท้องถิ่นมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนค่าเดินทางของวัตถุดิบต่างๆ ลดการสร้างก๊าซคาร์บอนให้กับบรรยากาศของเรา เราอาจจะลองสร้างสรรค์และเสนอเมนูใหม่ๆให้ลูกค้า แทนอาหารบางชนิดที่อาจจะอร่อยแต่ว่าไม่คุ้มเลยกับต้นทุนธรรมชาติของเรา เช่น หูฉลามน้ำแดง

- หากเราเป็นผู้ติดต่อประสานงาน ลองเพิ่มการทำงานผ่านโทรศัพท์ อินเตอร์เนต เพื่อลดการเดินทางด้วย รถรา เครื่องบิน ของเรา

- หากเราเป็นคนจัดค่าย ลองเช็คให้แน่ใจว่าข้าวที่เราสั่งไปให้ชาวค่ายกินบนรถเป็นข้าวใส่กล่องโฟมมั้ย เราอาจลองหาร้านป้าเจ้าประจำที่สามารถทำข้าวเหนียวปิ้งที่อยู่ในใบตองมาให้ชาวค่ายกินแทนอาหารกล่องโฟม

คิดว่าพออ่านแล้วทุกคนคงนึกตัวอย่างต่างๆนอกไปจากนี้ขึ้นมาได้ในใจทันที เพราะเราต่างมีวิถ๊ชีวิตไม่เหมือนกัน สำคัญเพียงแค่เรามีความเข้าใจและความมุ่งหมายเดียวกัน

ช่วยกันลดต้นทุนธรรมชาติน่ะค่ะ


ไม่อยากกินน้ำในกระติกนี่นา


การพกกระติกน้ำไปไหนมาไหน ก็ดูจะเป็นประโยชน์มากมาย ทั้งประหยัดเงิน และช่วยโลกไปด้วยในตัว แต่ว่าสำหรับคนขี้เบื่อและไม่ค่อยพิสมัยการดื่มน้ำเปล่าอย่างเราก็ค่อนข้างลำบากอยู่ไม่น้อยทีเดียว

ให้ดื่มน้ำเปล่าไม่เย็นน่ะดื่มได้ แต่ว่าเวลาร้อนๆเหนื่อยๆ ใจมันก็อยากได้น้ำหวานๆเย็นๆสักหน่อย เพื่อดับความรุ่มร้อนในใจอยู่ ฉะนั้น จึงอดไม่ได้ที่ต้องไปซื้อน้ำดื่มมากิน

อย่างไรก็ตาม ด้วยความตระหนักรู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ วิธีที่เราใช้เป็นแนวทางในการซื้อน้ำกินก็คือ

ไม่เอาน้ำที่เป็นขวดพลาสติก

แม้จะอยากกินมากแค่ไหนก็ตาม ตัวเลือกแรกที่เราพิจารณาก่อนก็คือ น้ำในขวดแก้ว เพราะเอาไปรีไซเคิลได้ ต่อมาคือน้ำในกระป๋อง และก็น้ำผลไม้ในกล่องยูเอชที

หรือถ้าเป็นร้านน้ำ เราก็จะเลือกหาร้านที่ใช้แก้วกระดาษก่อนเป็นอันดับแรก

อย่างไรก็ตาม มันก็มีบ้าง ที่เครื่องดื่มในตู้กระจกเย็นๆ เจ้าน้ำที่ใส่ในภาชนะที่เราอยากได้ มันก็เป็นน้ำอัดลมบ้าง เบียร์บ้าง ส่วนน้ำฝรั่ง ร้อยเปอร์เซ็นต์จากธรรมชาติ โดยกลุ่มแม่บ้าน ใส่ขวดพลาสติกอยู่ เราก็เลือกอย่างหลังแทน ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพของตัวเอง และกินของไทยด้วย

แม้เราจะไม่ได้ลดการซื้อน้ำดื่มที่บรรจุอยู่ในถุงพลาสติก หรือขวดพลาสติกให้เท่ากับศูนย์ แต่อย่างน้อยที่สุด กระบวนการคิดและใคร่ครวญในการซื้อก็เกิดขึ้น มันก็น่าจะช่วยให้เราค่อยๆเปลี่ยนแปลงไปได้ทีละน้อย

เวลาที่เราซื้อขวดน้ำที่ทำจากพลาสติก เราก็รู้ว่าเรากำลังเพิ่มขวดน้ำพลาสติกให้กับโลกหนึ่งใบอยู่ ดังนั้นเราจะใช้มันให้คุ้มค่ามากที่สุด และทำตัวเองให้มีประโยชน์มากเพียงพอ รวมถึง เราจะมีเวลาคิดมากขึ้นก่อนซื้อว่า เราต้องการมันจริงๆหรือเปล่า ก่อนที่จะหยิบไปจ่ายเงิน

ไม่อย่างนั้น ถ้าทำอะไรสุดขั้วเกินไปแล้ว เราจะมีบทเรียนเหมือนกับคนที่ลดความอ้วน ที่ช่วงลดน้ำหนักก็หยุดกินทุกอย่างที่อยากทาน แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งถูกกดดันมากๆ ก็ระเบิดการกลายเป็นกินทุกอย่างที่ขวางหน้า จนอ้วนหนักเป็นสองเท่าเสียอีก ที่เค้าเรียกว่าโยโย่เอฟเฟคท์

ตอนนี้ ขอแค่ตระหนักรู้ และพยายามลดก่อนแล้วกัน ให้มันเป็นไปแบบสบายๆ

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

เรื่องของคนขี้เกียจรีดผ้า


เราไม่ได้มาขี้เกียจอย่างเดียว...

เรายังช่วยประหยัดไฟได้อย่างมากอีกด้วย!!


แต่ก็นะ จะให้ใส่เสื้อยับๆไปไหนมาไหนก็ใช่ที่

ลองหันมาใส่พวกผ้าฝ้าย ผ้ายืด

ที่ไม่ค่อยยับกันให้บ่อยขึ้น

แล้วจะรู้ว่าชีวิตมันง่ายขึ้นอีกเยอะ


ทีนี้ ลองคิดเล่นๆ

ถ้าเราจะสามารถเปลี่ยนผ้าของพวกชุดนักเรียน

ชุดฟอร์มในที่ทำงาน ให้เป็นผ้าแบบยับยาก

ก็คงจะสามารถลดการใช้ไฟฟ้า

ไปได้เป็นจำนวนมาก


อย่างไรก็ดี เริ่มที่ตัวเราก่อนแล้วกัน

สบายดี ไม่เสียเวลา

ช่วยชาติประหยัดได้อีกตะหาก


วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ลองดูซิว่าห้องน้ำที่บ้าน หรือที่ทำงานคุณมีสิ่งนี้หรือไม่



เดี๋ยวนี้ห้องน้ำตามออฟฟิศ มักจะติดเครื่องจ่ายกระดาษทิชชูกันทั้งนั้น ไม่เว้นแม้แต่ออฟฟิศเล็กๆที่อยู่กันไม่ถึง 10 คน อย่างออฟฟิศที่เราทำงานอยู่ ไม่ว่าจะแบบม้วน หรือแบบแผ่น ก็ทำให้เกิดอาการ....ดึงกระดาษทิชชูกันอย่างเมามันส์

คุณรู้ไหมว่า"การผลิตกระดาษ 1 ตัน ต้องใช้ต้นไม้ถึง 17 ต้นใช้กระแสไฟฟ้า 4,100 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ใช้น้ำมัน 31,500 ลิตร และปล่อยคลอรีนเป็นขอเสียอีกไม่น้อยกว่า 7 กิโลกรัม" (อ้างอิงจาก นิตรสารสารคดีฉบับที่ 86)

ลองมองหาดูซักหน่อยว่าในห้องน้ำนั้นมีผ้าเช็ดมือหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ลองแบบนี้ค่ะ เอาผ้าเช็ดมือน่ารักๆมาแขวนซักผืนสองผืนในห้องน้ำที่ทำงาน และที่บ้าน แล้วขอให้แม่บ้านคอยซักให้สะอาดน่าใช้เสมอๆ

แต่ละครั้งที่เราจะหยิบ ดึงกระดาษ ไม่ว่าจะ กระดาษชำระ กระดาษ a4 หรือแม้แต่กระดาษซับมัน หากเรามองเห็นต้นไม้ที่ต้องตาย เห็นพลังงานไฟฟ้าที่ต้องเสีย เห็นน้ำมันและคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยสู่อากาศ เห็นน้ำเสียที่ปล่อยลงทะเล และเห็นตัวเราในนั้น
เราก็จะเกิดอาการดึงน้อยลงทีละนิด ดึงแต่พอดีๆ ดึงแต่ที่จำเป็น โดยไม่ต้องให้ใครมาบังคับ ...เพราะเราเข้าใจ :)

ปล.สนใจรู้เรื่องกระดาษมากขึ้นลองอ่านโพสต์นี้ของคุณคิ้วหนาค่ะ
http://myfreezer.wordpress.com/2008/05/03/eucalyptus-11/#more-371

วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ชอบของที่เรามี ชอบสิ่งที่เราเป็น

การที่เรามีชีวิตที่ชอบๆแบบพอดีๆ นอกจากช่วยโลกไว้ได้จากขยะไม่จำเป็น ยังช่วยฝึกใจเรื่องการละวางตัวตนและความโลภได้อีกต่างหาก ลองมองดูรอบๆตัวเราอย่างลึกซึ้ง จะเห็นว่าเราสะสมวัตถุหลายๆอย่างที่เราคิดเอาเองว่าช่างเหมาะกับเรา ช่างเป็นตัวเรา แล้วในที่สุดก็จบลงด้วยการเป็นที่ดักฝุ่นอยู่ตามมุมมืดในชีวิต

ไม่ซื้อเพิ่ม ถ้าของที่เรามียังใช้ได้อยู่ หรือยังไม่ได้ใช้ ไม่ซื้อหนังสือใหม่ ถ้ายังอ่านเล่มเก่าๆที่นอนกองซ้อนกันอยู่ในมุมห้องไม่จบ ส่งเล่มเก่าไปเที่ยวก่อนแล้วค่อยเริ่มเล่มใหม่ เล่มไหนรักๆ เอามาอ่านอีกหลายรอบก็ยังได้เรียนรู้ด้านใหม่ๆในใจเรา ของเล่นอิเลกโทรนิคส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า รวมถึงโทรศัพท์มือถือ คิดให้มากก่อนที่เราจะเอามันมาอยู่ด้วย เราจะใช้มันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพที่มันทำได้หรือไม่ thumb driveไม่จำเป็นถ้าเรามี iPod, iPhoneไม่จำเป็นถ้าเราใช้โทรศัพท์เป็นแค่โทรออกและรับสาย, ของประดับอีโก้ไม่จำเป็นถ้าเรารู้จักตัวเองอย่างแท้จริง

ไม่ซื้อถ้าเราไม่ได้วางแผนล่วงหน้าไว้ก่อน อย่าซื้อเพียงเพราะว่ามันถูกมาก มันลดราคา เลยซื้อไว้ซะอย่างนั้นโดยที่ยังไม่มีที่ใช้ หลีกเลี่ยงคำปลอบใจ (หรือที่เราเรียกว่า คำแก้ตัว)ว่าเดี๋ยวก็ได้ใช้ เงินที่เราใช้ไปกับการซื้อของแบบไม่รู้ตัวแต่ละเดือนนั้นเอาไปช่วยทำให้ชีวิตใครๆอีกหลายคนมีความสุขได้ ใจแข็งเข้าไว้ แล้วภูมิคุ้มกันตัวเลข sales 20-70%จะเพิ่มขึ้นเอง

ไม่สะสม บริจาคให้คนที่ใช่ แบ่งกันใช้ นอกจากไม่เพิ้ง ไม่ซ้ำซ้อน ยังไม่ต้องลำบากหาที่เก็บด้วย เคยได้ยินเรื่องเศร้าของพี่น้องคอลิเยร์ (Collier brothers) ไหม คนหนึ่งโดนกำแพงหนังสือพิมพ์ที่กองไว้เป็นเวลานานปีทับตาย อีกคนตาบอดต้องขาดอาหารตายเพราะดูแลตัวเองไม่ได้

ชอบของที่เรามี ชอบสิ่งที่เราเป็นนี่แหละ เย็นดี

วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

วันนี้คุณบอกน้องแคชเชียร์ที่เซเว่นว่าไม่เอาถุงแล้วหรือยัง


ทุกคนรู้ว่าการลดใช้ถุงพลาสติกเป็นเรื่องดี
แต่ก็มีหลายเหตุผลที่ทำตามกันไม่ค่อยได้
บางคนเวลามาซื้อของ ส่วนมากไม่ได้วางแผน
จะมาก็มาเลย จะให้พกถุงผ้าติดตัวคงไม่สะดวก จะลืมเสียมากกว่า
บ้างก็ว่าถุงพลาสติกมีประโยชน์ ไม่ได้ทิ้ง จะเอาไปใช้ใส่ขยะที่บ้าน

ความจริงปัญหาถุงพลาสติกนี้ดูจะเกี่ยวข้องกับวิถีการใช้ชีวิตอย่างมาก
คือ ถ้าท่านไม่มีถุงพลาสติก ท่านจะเอาอะไรใส่ขยะของท่านทั้งเปียกและแห้ง)
การไม่มี facility สำหรับการกำจัดขยะที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพิงถุงพลาสติกอย่างเป็นระบบ
ตลอดจนทางเลือกอื่นๆเพื่อแทนที่พลาสติกเหล่านี้
ทำให้การรณรงค์ยังคงไม่ได้ผลในวงกว้าง

จริงๆ การกำจัดถุงพลาสติกอาจไม่ได้ช่วยโลกร้อนโดยตรงมากเท่าไหร่
แต่มันจะช่วยเปลี่ยนนิสัยการบริโภคแบบทิ้งขว้างไม่รับผิดชอบ
ซึ่งในที่สุดก็เป็นสาเหตุของโลกร้อน และ
ปัญหาอื่นๆ บนโลกเราในขณะนี้อีกมากมาย

ท่านคงเคยได้ยินข่าวประเภท
กวางที่เขาใหญ่ที่ตายเพราะกลืนถุงพลาสติก
ท่อระบายน้ำอุดตัน
พลาสติกอยู่ในท้องปลา
ทั้งนี้เพราะพลาสติกจะเป็นขยะ
ที่ยังคงอยู่เป็นอมตะไปอีกเป็นพันๆปี

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

Trade-off

ความคิดความอ่านของเรา ก็เป็นเพียงความคิดความอ่าน เท่านั้น
มันไม่สุด ไม่จบ ไม่กระจ่าง
ความคิดที่เข้าใจไปเองว่าถูก ก็เป็นเพียงการติดกับดักเก่าๆ ของการฟังความด้านเดียว จากข้างในหัวเราเอง และจากการตีความสิ่งที่เราสัมผัสเพียงผิว

แก้ง่าย
ทำความเข้าใจเรื่องที่เราสนับสนุน หรือรณรงค์ให้สุด
จากนั้นทำความเข้าใจ และลองคิดสนับสนุนเรื่องตรงข้ามกันให้สุด

แล้วค่อยเลือกเอาซักทาง

เราจะสบายใจขึ้น เพราะโลกนี้ มันก็แค่นั้น และมันก็เป็นเช่นนั้น

และจากประสบการณ์ของผมนั้น เลือกทางไหน ก็ไม่ต่างกัน เพราะกรอบอ้างอิงของเราได้กว้างกว่าทางเลือกเสียแล้ว

เหรียญที่หมุนอยู่นั้นจะออกหัวหรือก้อย ก็ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายทั้งนั้น


ลงท้ายอีเมลล์แบบ..เขียวๆ



บางทีในการทำงานออฟฟิศ เราก็ปริ๊นท์อีเมลล์ต่างๆออกมาโดยไม่จำเป็น เจ้านายปริ๊นท์ที เลขาปริ๊นท์ให้เจ้านายอีกที คนโน้นก๊อปปี้เก็บไว้อีกอัน เอ้าซ้ำกันไปๆมาๆ

"Please consider the environment before printing this e-mail"
ลองลงท้ายลายเซ้นในอีเมลล์ด้วยการเตือนว่าอย่าพริ้นท์ออกมาโดยไม่จำเป็นน่ะจ๊ะ
อาจจะช่วยเตือนผู้รับแมลล์ของเราอีกทีก่อนเค้ากดปุ่มพริ้นท์ค่ะ

ปล. อันนี้ได้ไอเดียจากใครซักคนนึงที่ส่งเมลล์มาหาเมื่อนานมาแล้ว รู้สึกชอบเลยขอเลียนแบบบ้าง

พื้นที่สีเขียว

พื้นที่สีเขียว เวลาที่ทุกคนมองพื้นที่สีเขียวแล้วทุกคนคิดถึงอะไรกันนะ คิดถึงต้นไม้ คิดถึงธรรมชาติ คิดถึงสายน้ำ คิดถึงสรรพสัตว์
คิดถึงบ้านที่ทาสีด้วยสีเขียว คิดถึงแตงโมผลโต คิดถึงความรักหรือเปล่า
คิดถึงฉันบ้างนะ เวลาที่เราใช้น้ำก็ขอให้เราคิดถึงพื้นที่สีเขียวนะ เวลาที่เราใช้ไฟก็ให้เราคิดถึงพื้นที่สีเขียว
เวลาที่เราหายใจก็ขอให้เราคิดถึงพื้นที่สีเขียวด้วยนะ เวลาที่เราหลับก็ให้คิดถึงพื้นที่สีเขียวนะ แล้วพื้นที่สีเขียวจะดูแลเรา
ฉันคิดถึงพื้นที่สีเขียว เราคิดถึงพื้นที่สีเขียว เราคิดถึงต้นไม้ เราคิดถึงธรรมชาติ เราคิดถึงสายน้ำ เราคิดถึงสรรพสัตว์
เราคิดถึงบ้าน คิดถึงแตงโมผลโต เราคิดถึงความรักษ์ ฉันรักษ์ธรรมชาติ
เราขอขอบคุณธรรมชาติ
เราขอขอบคุณพื้นที่สีเขียวที่เบิกบานอยู่ทุกหนแห่ง
พื้นที่สีเขียวที่เบิกบานอยู่ในใจของทุกคน
แด่พื้นที่สีเขียว แด่ดวงใจทุกดวง
๑๕/๐๕/๕๑

Get "The Gardener widget " on your own blog...It's easy!


มาแล้วค่ะ วันนี้เพื่อนๆสามารถ สร้างหน้าต่าง widget The Gardener เอาไว้ในเว็บล็อคของตัวเอง ด้วยวิธีนี้ จะสะดวกกับการไม่ต้องตรงมาที่หน้าบล็อคนี้บ่อยๆ และยังสามารถแบ่งปันให้เพื่อนที่เข้ามาอ่านบล็อคของคุณได้อ่านเคล็ดลับเทคนิคการดูแลสิ่งแวดล้อมแบบ The gardener อีกด้วยค่ะ


เมื่อทำตามขั้นตอนแล้วคุณจะได้ หน้าต่างสีฟ้า ตัวอย่างในรูปที่เห็นนี้ไปแปะไว้บนหน้าบล็อคของคุณเอง จะไว้ซ้ายขวา หน้าหลัง ก็ตามใจชอบค่ะ จะเปลี่ยนสีก็ได้น่ะค่ะ

อย่าลังเลค่ะ คลิ๊กเล๊ยๆ http://www.widgetbox.com/widget/the-gardener

วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

น้ำมา


รูปนี้ผมถ่ายเอาไว้ สักราวๆ 1 ปีเห็นจะได้ รูปนี้เป็นบรรยากาศหน้าบ้านผมเลยครับ

เมื่อถึงหน้าฝน และฝนตกไม่หยุดพักทีไร ภาพแบบนี้จะปรากฏอยู่เสมอๆ
หลังๆ มาน้ำท่วมทุกปีเลย และความสูงของน้ำก็เพิ่มขึ้นทุกปีเช่น กัน ยิ่งคิดก็ยิ่งน่ากลัว โลกเราเป็นอะไรไปแล้ว หรืออย่างที่นักวทิยาศาสตร์ บอกว่าน้ำแข็งที่ขั่วโลกละลายมันจะเป็นจริงอย่างที่เขาว่า ...
ถ้าฝนตกบ่อยอย่างนี้ จะจับรองใส่ตุ้มสะให้เข็ดเลย สิ

แต่ปัจจุบันน้ำฝนมันใช้ดื่มไม่ได้แล้วเพราะสารพิษต่างๆนานา ผสมผสานจนลงตัว แต่ว่ามันก็เอาไปใช้อย่างอื่นได้อีกเยอะ ล้างจาน ซักผ้า อีกเยอะแยะ

รูปนี้ดูไปมันออกจะน่ากลัวใช่ไหมครับ

แต่ที่จริงความน่ารักในรูปนี้ก็ซ่อนอยู่ มันเป็นความน่ารักของเด็กฮะ เด็กรักที่จะเล่น เล่นไม่รู้จักเหนื่อย
และเล่นไม่รู้จักกลัว

เด็กยังดูยังไงมันก็ยังน่ารักของมัน ถึงบางคนมันจะกวนประสาทไปสักหน่อย

จริงที่เขาว่าเด็ก เปรียบเสมือนผ้าสีขาว ใครเอาอะไรไปใส่ ไปกระทำบนผ้าผืนนั้น สิ่งที่เขาได้ก็คือสิ่งๆนั้น

ตอนเด็ก ไม่รู้ว่าพ่อแม่เอาอะไรมาใส่ให้ผม ผมโดนคนอื่นบอกว่า "มึงบ้า" เป็นประจำ ฮ่าๆ

Green Forward




"สิ่งแรกที่ต้องปลูกก่อนต้นไม้คงเป็นเป็นไม้แห่งจิตสำนึกร่วมในสังคมของเราเอง"
ถ้าเราเจอวิธีการดีๆที่น่าสนใจในการดูแลสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นจากอินเตอร์เนต อีเมลล์ หนังสือ การบอกเล่า หรืออย่างเช่นโพสต์ในบล็อคนี้ อย่าแค่อ่านคนเดียวแล้วปิดไป ส่งต่อความคิดเหล่านั้นให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

เราส่งไปสิบคน เพื่อนอาจจะเอาไปทำแล้วก็ส่งต่ออีกสิบคน จากสิบเป็นร้อย ร้อยเป็นพัน โลกใบนี้กว้างใหญ่และไม่ใช่ของเราเพียงคนเดียว หรือของใครคนใดคนหนึ่ง

ขอให้ทุกคนช่วยกันดูแลน่ะค่ะ

ตุ๊กตาลดโลกร้อน




คุณชลอ ทองสุข เจ้าของงานไอเดียนี้เล่าว่า



จุดที่เริ่มทำนั้น เพราะมองเห็นว่าขยะที่บ้าน มีปริมาณมาก


โดยเฉพาะถุงพลาสติกหรือ “ถุงก๊อบแก๊บ” จะมีเยอะมากที่สุด


จึงมาคิดว่า ถ้านำถุงพลาสติกเหลือใช้มาเป็นวัตถุดิบ


น่าจะตอบโจทย์กับสิ่งที่คิดไว้ได้ จึงเริ่มออกแบบ ทดลองทำ


โดยเริ่มจากนำมาปั้นเป็นม้วนกลม ๆ จากนั้น ซื้อเศษไหมพรม


จากร้านขายของเก่ามาทำก่อน เพราะมีราคาถูก





ขั้นตอนการทำ:


1. เริ่มจากการทำส่วนหัว โดยนำเศษกระดาษหรือถุงพลาสติกที่หามาได้มาทำการขยำหรือปั้นให้เป็นก้อนกลม ๆ โดยให้มีขนาดประมาณ 5 เซนติเมตร หรือขึ้นกับขนาดของตุ๊กตา จากนั้นนำหนังยางมาทำการมัด โดยใช้ 2 เส้นมัดไขว้กัน เพื่อที่ว่าขณะกำลังพันไหมพรมจะได้ไม่หลุดมือ



2. นำไหมพรมมาทำการพันไปรอบ ๆ ก้อนกลม ที่ต้องระวังคือ ต้องพยายามพันให้แน่นและมิดชิด มีเคล็ดลับคือขณะพันผู้ทำต้องกดกระดาษ หรือถุงพลาสติกให้แน่น เมื่อพันเสร็จแล้วให้ใช้เข็มเย็บผ้าและด้ายทำการเย็บ ให้ไหมพรมติดแน่นเข้า



3. ตกแต่งหน้าตาของตุ๊กตา โดยนำไหมพรมมาเย็บเป็นลูกตา ปากกับจมูก ส่วนลำตัว ขา และแขนนั้น จะแยกทำทีละส่วน แต่มีวิธีทำเหมือนกัน เริ่มจาก นำลวดเส้นเล็กประมาณ 6-8 เส้น นำมาเรียงกันแล้วงอพับเป็น 2 ทบเพื่อความแข็งแรง จากนั้นนำไหมพรมมาพันในแนวขวางกันกับเส้นลวด เสร็จเรียบร้อย ให้นำมาเย็บต่อเข้ากับหัวของตุ๊กตา โดยเริ่มจากการเย็บตัวก่อนและจึง เย็บแขนและขาเข้ากับตัวตุ๊กตาอีกที



4. นำ “พวงกุญแจ” มาติดที่หัวของตุ๊กตา


5. เพิ่มความน่ารักโดยการตกแต่ง อาทิ ใช้ไหมพรมถักเป็นเปีย


ทำหมวก เสื้อผ้า หรือนำดอกไม้หรือโบมาติดเพิ่มเติม



สนใจ “ตุ๊กตาลดโลกร้อน” ติดต่อ ชลอ ทองสุข ได้ที่เลขที่ 48 หมู่ 2 ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12130 โทร. 0-2987-4247, 08-3037-5189, 08-6407-0377


จาก http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?ColumnId=55659&NewsType=2&Template=1

วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ใช้แก้วแปรงฟัน



มีผู้ได้ทดลองให้เราแล้วค่ะ หากเราใช้แก้วใส่น้ำแปรงฟันแทนการเปิดน้ำให้ไหลแล้วใช้มือรองน้ำนั้นประหยัดน้ำกว่ากัน ถึง 3 เท่า

แก้วมีปริมาตร 300 ml เราแปรงฟันได้สะอาดสบายๆ
หากเราเปิดน้ำไหลประมาณ แค่ 20 วินาที ที่เรากวักน้ำ เราจะเสียน้ำไป 1.5 ลิตร
หรือ คือ 3 เท่าของการใช้แก้วแปรงฟัน

เรามาเริ่มใช้แก้วแปรงฟันกันเถอะค่ะ

เหมืองแร่มหัศจรรย์ ไม่มีวันหมด


วันก่อนดูรายการนึง เกี่ยวกับโมเดลธุรกิจ วงษ์พาณิชย์
ดำเนินธุรกิจรับซื้อและรีไซเคิลขยะ ค่อนข้างน่าสนใจ

โดยจะมีการบริหารการจัดการคัดแยกขยะอย่างเป็นระบบ
ดำเนินงานโดยขยายแฟรนไชส์และเผยแผ่วิชาเก็บขยะ
ล่าสุดมีหลายประเทศซื้อโมเดลธุรกิจนี้ไปลงทุน

ด้วยมุมมองที่แตกต่าง เมื่อมองไปทางไหน เห็นแต่กองขยะ
และเมื่อมองเห็นในกองขยะเหล่านั้น มีเศษสิ่งของที่ขายได้ปน
อยู่มากกว่าครึ่งหนึ่ง เปรียบไปแล้วมันก็คือเหมืองแร่ดีๆ นี่เอง
และมีคนเอาแร่ใหม่ๆ มาเติมเพิ่มทุกวัน

โดยสโลแกนสั้นๆของที่นี่คือ "เหม็นทำให้หอม และเป็นเงินเป็นทอง"

โดยที่นี่มีรถมารับซื้อขยะถึงบ้านท่าน สามารถโทรเรียกมาได้
โทรศัพท์ 055-321555 ,055-284494

แบ่งราคาออกเป็น 5 ประเภทคือ
โลหะ ขวดแก้ว กระดาษ พลาสติก และอื่นๆ
ถูกแพงแล้วแต่ชนิด

เริ่มต้นที่บ้าน หมู่บ้านของคุณ อย่าทิ้งขยะไปเปล่าๆ
เอามาขายกันดีกว่า มาเริ่มแยกขยะกัน
ง่ายๆ แต่ได้ประโยชน์มากมาย

เพิ่มเติมที่ http://www.wongpanit.com/


ป.ล. ปัจจุบันขยะเป็นปัญหาสำคัญของโลก ที่ผ่านมามีเทคโนโลยีส่วนใหญ่ จะเป็นเตาเผาขยะ ซึ่งราคาแพง และก่อให้เกิดมลพิษต่อเนื่อง

อย่างน้อยตั้งกฎเหล็กกับตัวเอง...ซักหนึ่งข้อ

ไม่ต้องบอกก็คงท่องได้กันเหมือนที่เราเคยท่องไปสอบว่า.....ปรากฏการณ์เรือนกระจก หมายถึง สภาพที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซต่าง ๆ ในบรรยากาศผิวโลกมีปริมาณเกินภาวะสมดุล ทำให้เกิดปรากฏการณ์คล้ายกระจกหลังคาที่หุ้มเรือนกระจก และทำให้อุณหภูมิระหว่างผิวโลกกัฐก๊าซดังกล่าวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและดินฟ้าอากาศของโลก

และไม่ต้องบอกอีกก็รู้ว่า.... สาร CFC ที่มนุษย์เราสังเคราะห์ขึ้นนั้นทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก

และไม่ต้องบอกก็รู้อีกเช่นกันว่า...สาร CFC ที่ว่านี้ใช้ในการผลิตกล่องโฟม

เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะไปเดินตลาดขายของกินไหนๆ ก็มีแต่โฟมๆๆ บางทีหากเราลืม หรือเราหยวนๆมากเกินไปกับความที่ว่า "ก็อยากกินนี่" เราก็จะไม่ทำเรื่องนี้อย่างจริงจังกันซักที

ลองทำสิค่ะ ตั้งกฎเหล็กกับตัวเองว่า "ไม่ว่าจะอยากกินแค่ไหน ก็จะไม่ซื้ออาหารที่ใส่ภาชนะโฟมเด็ดขาด" ก็ตลาดตั้งกว้างใหญ่ หันไปกินร้าน หรือแผงข้างๆ ใส่ถุงพลาสติกก็ยังดี อ้อ แต่อย่าลืมบอกเค้าว่าเอาแค่ถุงพลาสติกใสอย่างเดียว ไม่ต้องใส่ก๊อบแก๊ปอีกชั้นน่ะค่ะ :)

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

การพกขวดน้ำมันดียังงี้นี่เอง


เป็นเวลานานมาแล้วที่เราเองเหมือนเป็นอัตโนมัติ จะนับและจำว่าในแต่ละวันอันเร่งรีบที่แสนธรรมดาของเราในกทม.นั้น ตัวเองสร้างขยะย่อยสลายยากอย่างพลาสติกขึ้นมากี่ชิ้น แต่ด้วยความรู้สึกชิวบ้าง ขี้เกียจบ้าง ก็จะแก้ตัวให้ตัวเองว่าก็หิวน้ำนี่ ก็อยากกินอ่ะ ....แต่นับวันๆยิ่งรู้สึกไม่ดี และบอกตัวเองว่าไม่เอาแล้ว เราต้องเปลี่ยน
ยกตัวอย่างค่ะ
.....เดินออกจากซอยถึงปากซอยเริ่มหิวน้ำ ซื้อชาเขียวหนึ่งขวด สิบนาทีผ่านไป ขวดชาเขียวก็นอนแอ้งแม้งอยู้ในถังขยะ พอพักกลางวัน กินก๋วยเตี๋ยวที่ร้าน สั่งน้ำเปล่ามาอีกขวด สิบห้านาทีผ่านไปขวดน้ำก็กลายเป็นขยะชิ้นที่สอง ตอนเย็นขึ้นรถไฟฟ้าอีก หิวน้ำอีกขออีกซักขวดแล้วกัน...
"เดี๋ยวนี้น้ำเปล่าๆ เค้าขายกันขวดละสิบบาท กินน้ำ 3 ขวด เท่ากับ 30 บาท จ่ายไปชิวๆ เดือนละ 900 บาท ฮ่า ไม่ใช่โปรโมชั่นมือถือน่ะค่ะ"
บางคนอาจบอกว่าพกน้ำมันหนัก แล้วก็กลัวหกในกระเป๋า.....
ขอแนะนำค่ะ ขวดน้ำรุ่นนี้ หาซื้อได้ที่แผนกเครื่องครัวตามห้างทั่วไป เนื่องจากมีฝาสองชั้น ไม่หกชัวร์ (ใช้อยู่ค่า) แล้วก็สามารถเลือกรุ่นที่บรรจุแค่ 350ml จะได้ไม่หนักค่ะ
ข้อดีได้เป็นผลพลอยได้คือ นอกจากประหยัดขวดพลาสติก บางทียังช่วยประหยัดการใช้แก้วกระดาษชนิดใช้แล้วทิ้งตามสถานที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงาน โรงพยาบาล สนามบิน ก็หยิบขวดขึ้นมาเติมน้ำไงค่ะ
ด้วยวิธีนี้ ตั้งแต่ข้าพเจ้าใช้ขวดน้ำมา (ถึงจะไม่นานเท่าไหร่) แต่ก็บอกได้เลยว่าลดการสร้างขยะพลาสติกและกระดาษไปไม่น้อยเลยค่ะ ให้ความรู้สึกเท่ไงไม่รู้แฮะ ^^

"น้องค่ะ พวกเราขอช้อนกับส้อมค่ะ"


เมื่อสามปีที่แล้วประเทศจีนเริ่มมีโครงการรณรงค์ให้คนพกตะเกียบของตัวเอง เพื่อลดการใช้ตะเกียบไม้ชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เนื่องจากรูปแบบการรับประทานอาหารของคนจีนนั้นใช้ตะเกียบเป็นหลัก เดี๋ยวนี้เมืองไทยเราฮิตทั้งอาหารจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ทำให้เราหนีไม่พ้นการใช้ตะเกียบมากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นตะเกียบชนิดใช้แล้วทิ้งเลยเสียด้วย ตะเกียบเหล่านี้ก็มาจากต้นไม้ในป่าของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ของเรานี่เองค่ะ

วันนี้เรามีวิธีง่ายๆค่ะ ง่ายยิ่งกว่าการพกตะเกียบที่เสร็จแล้วเราต้องเอาไปล้างที่บ้าน ซึ่งวิธีนั้นเราเห่อทำไปซักพักเราก็จะลืมพกตะเกียบไปซะงั้น

ลองวิธีนี้ค่ะ หากคุณไปร้านก๋วยเตี๋ยว หรือแม้แต่ร้านเอ็มเค สิ่งที่สองรองจากสั่งอาหาร ก็คือทุกๆคนในโต๊ะจะเริ่มฉีกซองตะเกียบ......ถึงตอนนี้แหละค่ะ คุณต้องพูดออกไปเลยว่า ......."หยุด! ทุกคนอย่าเพิ่งแกะตะเกียบ" เสร็จแล้วให้หันหน้าไปทางพนักงานร้าน แล้วพูดว่า "น้องค่ะ พวกเราขอช้อนกับส้อม อืม (นับจำนวนคนค่ะ สมมุติว่ามา 4 คน) 4 ชุดค่ะ "

หากคุณเป็นคนที่กินก๋วยเตี๋ยวเดือนละ 10 ครั้ง แล้วคุณทำเช่นนี้ ปีนึงคุณอาจจะช่วยลดการใช้ตะเกียบไม้ไปได้ถึง 120 คู่ หรือ 10 โหลเลยน่ะจะบอกให้

วันจันทร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

ซื้อกาแฟ ไม่เอาฝา


ประเทศไทยมี เซเว่นอีเลเว่น กว่า 4,000 สาขา (นี่ยังไม่รวม family mart ampm และอื่นๆอีกมากมาย)
หากวันหนึ่ง ร้านเซเว่นขายกาแฟกับน้ำอัดลมต่าง สาขาล่ะ 100 แก้วต่อวัน
ปีหนึ่ง 365 วัน
ก็เท่ากับแก้วพลาสติก ฝาครอบ และหลอด จะถูกใช้ไปจำนวน 4000 * 100 * 365 = 146,000,000 ชุด
ซึ่งอายุการทำงานของมันต่อชุดไม่เกินสิบนาที แต่มันจะกลายเป็นขยะที่ย่อยสลายไม่ได้ไปอีก 500 ปี ยังดีที่บางส่วนอาจนำไปรีไซเคิลได้

แต่การผลิตแก้วพลาสติกชิ้นหนึ่งนั้น หมายถึง เงินที่ออกนอกประเทศในการซื้อเม็ดพลาสติก หมายถึงน้ำมันเชื้อเพลิงในการหลอม และเป่าโมลพลาสติก หมายถึงน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม หมายถึงภาระของกทมในการกำจัดขยะ อาจรวมถึง การทำลายชั้นโอโซนในการเผาทำลายขยะอีกด้วย
เริ่มต้นกันวันละเล็กวันล่ะน้อย ไม่ได้คิดว่าเราต้องเดินพกแก้วมาจากบ้าน เราอาจจะเริ่มง่ายที่การไม่เอาฝาปิดแก้ว ถ้าแก้วสะอาดก็ไม่ต้องเอาหลอด
หาก ประหยัดการใช้แค่ฝาครอบอย่างเดียว ปีละ 146,000,000 ชิ้นได้ ก็เป็นความเคลื่อนไหวเล็กๆที่ไม่เล็กเลยทีเดียว

no cap please!!!!